ข้อดี ข้อเสีย ของกระเบื้องชนิดต่างๆ
22 Nov, 2018 / By
Rpcshop
หลังจากที่เราได้มารู้จักประเภทของกระเบื้องกันแบบคร่าวๆแล้ว เราก็ต้องมาเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย ของกระเบื้องแต่ละตัว เป็นส่วนหนึ่งในตัดสินใจซื้อ และต้องเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย เพื่อที่จะเลือกใช้กระเบื้องให้ถูกต้องตามความเหมาะสม เพราะไม่ใช่ว่ากระเบื้องทุกแบบ จะสามารถใช้กับงานอะไรก็ได้ ไม่ใช่แบบนั้น กระเบื้องแต่ละตัว มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกัน ฉะนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของมันก่อนที่จะเลือกซื้อกระเบื้อง เริ่มต้นด้วยแบบแรกอย่าง
กระเบื้องเซรามิก
ข้อดี คือ
- มีโทนสี และลวดลายให้เลือกใช้มากที่สุด
ในบรรดากระเบื้องทั้งหลาย
- มีหลายราคาให้เลือกซื้อ แถมราคาไม่สูงมาก
- มีขายทั่วไป หาซื้อได้ง่าย
ข้อเสีย คือ
- เมื่อรื้อกระเบื้องเซรามิกแล้ว ไม่สามารถนำมาปูใหม่ได้อีก
- ดูดซึมน้ำได้ดีเลยทำให้เวลาเปียกแล้วค่อนข้างที่จะลื่น
กระเบื้องแกรนิตโต้
ข้อดี คือ
- ราคามีให้เลือกหลากหลาย เพราะราคาของกระเบื้องแกรนิตโต้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพ ซึ่งก็ถือว่าคุ้มค่า
- มีความแข็งแรง ทนทานสูง เพราะมีส่วนผสมของหิน
- ทำความสะอาดง่าย
ข้อเสีย คือ
- ค่าปูกระเบื้องแพงมากกว่ากระเบื้องแบบอื่นๆ
- เพราะปูค่อนข้างยากกว่าแบบอื่นๆ
กระเบื้องดินเผา
ข้อดี คือ
- เป็นพื้นที่ไม่ค่อยลื่น
- ไม่อมความร้อน
- ระบายความร้อนได้ดี
- ช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น
- กระเบื้องดินเผามีราคาถูก จับต้องได้
ข้อเสีย คือ
- ไม่ค่อยทนทาน ผุกร่อนง่าย
- ค่อนข้างที่จะสกปรกง่าย
- ถ้าซับความชื้นมากไปกระเบื้องอาจบวมและแตกได้
กระเบื้องโมเสค
ข้อดี คือ
- ระบายน้ำได้ดี เพราะมีร่องจำนวนมากให้น้ำไหลผ่าน
- มีสีสันที่สวยงาม ใช้ตกแต่งบ้าน
- สีของกระเบื้องโมเสคไม่ตก
ข้อเสีย คือ
- ไม่เหมาะกับการปูพื้นในที่กว้างๆ
- มีราคาที่ค่อนข้างสูง
- ทำความสะอาดยากมากในบรรดากระเบื้องทั้งหมด เพราะมีร่องระหว่างรอยต่อเยอะ เนื่องจากกระเบื้องโมเสคมีขนาดแต่ละแผ่นค่อนข้างที่จะเล็ก
กระเบื้องแก้ว
ข้อดี คือ
- สีสันสดใส มีลวดลายให้เลือกหลากหลาย
- สีสันและลวดลายมีความทนทาน
- ไม่อมความชื้น
ข้อเสีย คือ
- ความแข็งแรงทนทานต่ำ
- ราคาค่อนข้างที่จะสูงมาก
- รับน้ำหนักได้ไม่มาก ไม่เหมาะกับการปูพื้นบ้าน
กระเบื้องหินอ่อน
ข้อดี คือ
- เป็นกระเบื้องที่ป้องกันรอยขีดข่วนได้ เป็นรอยยาก
- กระเบื้องหินอ่อนมีความเย็นอยู่ในตัว
- มึความแข็งแรงและทนทานสูง
ข้อเสีย คือ
- ต้องดูแล บำรุงรักษาอยู่ตลอด
- มีน้ำหนักที่ค่อนข้างจะหนักมาก
- ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ
- ราคาสูง